วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

สายพันธุ์ ส้มจุก


       ส้มจุก
        ส้มจุก หรือ CITRUSRETICURATA BLANCO มีชื่อสามัญว่า NECK ORANGE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูงระหว่าง 5-7 เมตร เป็นส้มชนิดหนึ่งในกลุ่มส้มเปลือกล่อนเช่นเดียวกับส้มโชกุนและส้มเขียวหวานทั่วไป จะมีส่วนที่แตกต่างคือที่บริเวณขั้วผลจะมีปุ่มสูงคล้ายจุก จึงถูกเรียกชื่อว่า “ส้มจุก” (ทั่วไป) ส่วนในท้องถิ่นภาคใต้เรียกว่า “ส้มแป้นหัวจุก”
 

          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
      ส้มจุก เป็นส้มในกลุ่มส้มเปลือกล่อนเช่นเดียวกับส้มโชกุน และส้มเขียวหวาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากส้มชนิดอื่น คือบริเวณขั้วผลมีปุ่มยื่นออกมาคล้ายจุก ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกส้มชนิดนี้ว่า "ส้มแป้นหัวจุก" แหล่งปลูกดั้งเดิมอยู่ที่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาส้มจุกมีการเพาะปลูกมาก่อน ปี พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นการเพาะปลูกของเกษตรกรรายย่อย ต่อมาเมื่อได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปทุกตำบลในอำเภอจะนะ ในสมัยนั้นผลผลิตแพร่หลายไปสู่ผู้บริโภค ในภูมิภาคต่างๆ จากชื่อเสียงและรสชาดที่ดีของส้มจุกทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังแหล่งอื่นๆ
          เป็นไม้ผลขนาดกลาง เริ่มให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 3 ปี และให้ผลต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ปี ตั้งแต่ออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มจุกที่มีอายุ 5 ปี จะให้ผลผลิตที่มีน้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 5-6 ผลต่อ 1 กิโลกรัม

       การขยายพันธุ์
          การขยายพันธุ์ เกษตรกรนิยมขยายพันธุ์ส้มจุกโดยใช้ กิ่งตอน ไม่มีการคัดเลือกต้นพันธุ์ ทำให้เกิดปัญหาติดตามมาภายหลัง โดยเฉพาะความสมบูรณ์ของกิ่งและปัญหาของโรคที่ติดมากับกิ่งพันธุ์ ดังนั้น ในการขยายพันธุ์ ต้องมีการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง และนำมาติดตาบนต้นตอพันธุ์ส้มจุก ที่ได้จากการเพาะเมล็ด
         
            การเตรียมดิน

          การปลูกส้มจุกไม่ว่าจะเป็นสภาพพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน ต้องมีการยกร่อง เพื่อให้มีการระบายน้ำออกจากระบบราก ของส้มจุกอย่างรวดเร็ว และต้องมีการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน เพราะการวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของดิน ตั้งแต่การเตรียมดินและตลอดระยะเวลาของการปลูก จะมีส่วนทำให้การปลูกส้มประสบความสำเร็จ

        วิธีการปลูก          
          ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะระหว่างแถว 5-6 เมตร ระยะระหว่างต้น 4-5 เมตร ขุดหลุมขนาด 50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูก 

          การให้น้ำ

   
       เกษตรกรจะเลือกใช้วิธีการให้น้ำวิธีการใดนั้น จะต้องพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศ คุณสมบัติของดิน ลักษณะของพื้นที่ วิธีการเพาะปลูก เงินลงทุน ตลอดจนปริมาณของน้ำที่จะหาได้ในพื้นที่นั้นๆ 
           การใส่ปุ๋ย
          ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี 2-3 เดือนต่อครั้ง ตั้งแต่เริ่มปลูก พร้อมกับการฉีดพ่นปุ๋ยธาตุอาหารเสริมทางใบ
ปุ๋ยเคมีใส่ในระยะต่างๆ ดังนี้

ช่วงการเจริญเติบโตก่อนการให้ผลผลิต
หลังการเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่ง
สูตร 15-15-15
ช่วงก่อนการออกดอกสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24
ช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว 1 เดือนสูตร 13-13-21 หรือ 0-0-50

       การตัดแต่งกิ่ง
          
           การตัดแต่งกิ่งส้มจุก เพื่อสร้างทรงพุ่มให้ได้ทรงพุ่มที่ต้องการ ต้องเริ่มตั้งแต่เริ่มปลูก และตัดแต่งทรงพุ่มหลังการเก็บเกี่ยวทุกครั้ง เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของต้น โดยตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งกระโดง และกิ่งที่ทำมุมแคบกับลำต้น
การจัดการทรงพุ่มของส้มมีผลในการลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูง สะดวกต่อการจัดการดูแลรักษา

เคล็ดลับการปลูกส้มจุก  

เคล็ดลับในการปลูกส้มหัวจุกให้ประสบความสำเร็จ ธีรพงษ์ บอกว่า วิธีปลูกไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่มหรือพื้นที่ดอน ต้องมีการยกร่อง เพื่อให้ระบบรากระบายน้ำออกจากระบบรากอย่างรวดเร็ว ระยะปลูกคือ ระยระหว่างแถว 5-6 เมตร ระยะระหว่างต้น 4-5 เมตร ขุดหลุมขนาด 50x50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก่อนปลูก เมื่อปลูกแล้วจะต้องมีระบบการจัดการสวนที่ดี ทั้งการดูแลให้น้ำ ใส่ปุ๋ย ซึ่งการใส่ปุ๋ยนั้น ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2-3 เดือนต่อครั้ง ตั้งแต่เริ่มปลูก พร้อมกับการฉีดพ่นปุ๋ยธาตุอาหารเสริมทางใบด้วย















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น